เมื่อวันที่ 22 กันยายน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกแถลงการณ์สถานการณ์น้ำ ประจำวันที่ 22 กันยายน ว่า คาดการณ์ว่าปริมาณฝน ช่วงวันที่ 23–27 ก.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคตะวันออก และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคใต้
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีปริมาณน้ำมากกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด ได้แก่ อ่างเก็บน้ำกิ่วลม และอ่างเก็บน้ำแม่จาง จ.ลำปาง อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จ.อุดรธานี และอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี ซึ่ง สทนช. ได้มีการแนะนำให้มีการพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำในเดือนกันยายน และตุลาคม โดยให้พิจารณาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนพื้นที่ท้ายน้ำ
คาดการณ์สถานการณ์น้ำที่สำคัญ 1.สถานการณ์น้ำแม่น้ำโขงเหนือ ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำโขงภายในประเทศและแม่น้ำโขงเหนือสายหลัก รวมถึงแม่น้ำกก แม่น้ำอิงอยู่ในสภาวะปกติไม่มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง และคาดการณ์ล่วงหน้า 7 วัน พบว่าปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นไม่ทำให้ปริมาณน้ำเกิดปัญหาอุทกภัย 2.สถานการณ์น้ำแม่น้ำยม ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำยมอยู่ในสภาวะปกติเกือบทั้งหมดยกเว้นบริเวณ สถานี Y.64 อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันมีระดับน้ำ 7.23 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.83 ม.) แนวโน้มทรงตัว 3.สถานการณ์แม่น้ำน่าน ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำน่านอยู่ในสภาวะปกติไม่มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง และคาดการณ์ล่วงหน้า 7 วัน พบว่าปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นไม่ทำให้ปริมาณน้ำเกิดปัญหาอุทกภัย
4.สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานี C.2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ความจุลำน้ำ 3,660 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 1,156 ลบ.ม./วินาที (ร้อยละ 31 ของความจุลำน้ำ) คาดว่าในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีปริมาณน้ำจะอยู่ในช่วง 1,160 – 1,890 ลบ.ม./วินาที (ร้อยละ 31 – 51ของความจุลำน้ำ) ปัจจุบันเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำในอัตรา 1,049 ลบ.ม./วินาที และจะปรับการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จากการคาดการณ์ปริมาณฝนในประเทศไทย สำหรับสถานี C.29A ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความจุลำน้ำ 3,500 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 722 ลบ.ม./วินาที (ร้อยละ 20 ของความจุลำน้ำ)
5.สถานการณ์แม่น้ำชีและแม่น้ำมูล ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลอยู่ในสภาวะปกติไม่มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง และคาดการณ์ล่วงหน้า 7 วัน พบว่าปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นไม่ทำให้ปริมาณน้ำเกิดปัญหาอุทกภัย3.6 สถานการณ์แม่น้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำโขงภายในประเทศอยู่ในสภาวะปกติและแม่น้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือเกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำสงคราม ที่สถานี Kh.74 อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ปัจจุบันมีระดับน้ำ 9.59 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.09 ม.)
รายแจ้งอีกว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบัน พบในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย และเมืองฯ) จ.ลำปาง (อ.แจ้ห้ม) จ.ตาก (อ.สามเงา) จ.พิษณุโลก (อ.พรหมพิราม บางระกำ และเมืองฯ) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หนองไผ่ และบึงสามพัน) จ.หนองคาย (อ.สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ เมืองฯ รัตนวาปี และโพนพิสัย) จ.นครพนม (อ.บ้านแพง นาทม ท่าอุเทน ศรีสงคราม เมืองฯ นาหว้า ธาตุพนม และเรณูนคร) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล บางปะอิน ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา เสนา และบางไทร) จ.ปทุมธานี (อ.เมืองฯ) จ.พังงา (เมืองฯ) และ จ.สตูล (อ.ควนโดน เมืองฯ ท่าแพ มะนัง ละงู ควนกาหลง และทุ่งหว้า)
ส่วนการช่วยเหลือนั้น การประปาส่วนภูมิภาค เร่งจ่ายน้ำเข้าได้ครบทุกพื้นที่ และเข้าสำรวจและทำการซ่อมแซมแก้ไขระบบประปาเพื่อเร่งจ่ายน้ำเข้าพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือการจ่ายน้ำโดยรถบรรทุกน้ำจำนวน 5 จุด ขณะที่การประปานครหลวง ช่วยฟื้นฟูระบบประปาในพื้นที่ประสบภัย พร้อมส่งน้ำดื่มบรรจุถ้วยจำนวน 30,000 ถ้วยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้รับผลกระทบ และบริจาคเงินช่วยผู้ประสบภัยจำนวน 3 แสนบาท ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ผ่านกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี
จังหวัดเชียงราย ให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัย อาทิเช่น จัดตั้งจุดผลิตน้ำดื่ม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวจำนวน 5 จุด จัดตั้งโรงครัวจำนวน 7 จุด น้ำดื่มจำนวน 668,291 ขวด ข้าวกล่อง 299,609 กล่องและถุงพระราชทานรวม 242,666 ชุด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน และสัตว์เลี้ยงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย
ส่วนUNICEF ประจำประเทศไทย ได้สนับสนุนสิ่งของในการช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย ประกอบด้วย ชุดสุภาพจำนวน 500 ชุด ชุดสุขอนามัยสำหรับเด็กจำนวน 500 ชุด และชุดส่งเสริมการเรียนรู้จำนวน 500 ชุด ให้แก่จังหวัดเชียงราย 5.5 AHA Centre ภายใต้โครงการ DELSA ได้สนับสนุนสิ่งของในการช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย ประกอบด้วย ชุดครอบครัวจำนวน 1,500 ชุด ให้แก่จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ และพะเยา
นอกจากนี้ สทนช. ได้ประกาศแจ้งเตือน ฉบับที่ 15/2567 ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 เรื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงวันที่ 17 – 22 กันยายน 2567 เนื่องจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนัก และมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน มีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. สถานการณ์แม่น้ำโขง เนื่องจากขณะนี้มวลน้ำหลากในแม่น้ำโขงได้ไหลผ่านจังหวัดเลย หนองคาย และบึงกาฬ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดหนองคายสูงสุด 21,187 ลูกบาศก์เมตร/วินาที สูงกว่าตลิ่ง 1.62 เมตร และจะเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดบึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 – 1.0 เมตร ในช่วงวันที่ 18 – 21 กันยายน 2567 โดยเฉพาะจังหวัดนครพนม ระดับน้ำมีแนวโน้มล้นตลิ่ง 0.3 – 0.5 เมตร ในวันที่ 18 กันยายน 2567
2. สถานการณ์น้ำห้วยหลวง บริเวณสถานีบ้านโนนตูม (Kh.103) อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ระดับน้ำ ณ วันที่ 16 กันยายน 2567 สูงกว่าตลิ่ง 0.21 เมตร จากการคาดการณ์แนวโน้ม พบว่าในวันที่ 17 กันยายน 2567 ระดับน้ำห้วยหลวงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุด เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำสูงกว่าลำน้ำสาขา จึงไม่สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงได้สะดวก ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำล้นตลิ่งต่ำ และไหลหลากเข้าท่วมชุมชนที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ จึงขอให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมขัง บริเวณพื้นที่ด้านท้ายน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ได้แก่ อำเภอกุดจับ เมืองอุดรธานี และสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ในช่วงวันที่ 17 – 22 กันยายน 2567
ขณะที่ประกาศ สทนช.ฉบับที่ 16/2567 ลงวันที่ 17 กันยายน 2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 19 – 25 กันยายน 2567 เนื่องจากพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ในช่วงวันที่ 20 – 21 กันยายน 2567 จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางและอ่อนกำลังลงตามลำดับ ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1.พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล
2.เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ ๘๐ บริเวณ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา แพร่ สุโขทัย ตาก อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ตรัง และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาย (อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) แม่น้ำกก (อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงราย และเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) แม่น้ำอิง (อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา) แม่น้ำยม (อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก) แม่น้ำป่าสัก (อำเภอหนองไผ่ และวิเชียรบุรี) แม่น้ำเลย (อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย) ห้วยหลวง (จังหวัดอุดรธานี) แม่น้ำสงคราม (จังหวัดอุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ และนครพนม) แม่น้ำจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี และมะขาม จังหวัดจันทบุรี) แม่น้ำตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง และบ่อไร่ จังหวัดตราด)
ส่วนประกาศ แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 14 – 22 กันยายน 2567 ในรูปแบบ Infographic และเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ประกอบกับมวลน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลลงมาสมทบ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
นอกจากนี้ทางสทนช. ได้คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน ในช่วงวันที่ 23 – 25 ก.ย. 67 สทนช. ประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยง จำนวน 22 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (อ.เชียงดาว พร้าว ดอยสะเก็ด ไชยปราการ แม่ออน สันทราย แม่แจ่ม กัลป์ยาณิวัฒนา สะเมิง จอมทอง แม่วาง และสันป่าตอง) จ.เชียงราย (อ.แม่สรวย เวียงป่าเป้า และพาน) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.ปาย) จ.แพร่ (อ.หนองม่วงไข่ สอง และร้องกวาง) จ.พะเยา (อ.ดอกคำใต้ ปง จุน และแม่ใจ) จ.น่าน (อ.นาน้อย) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า และเขาค้อ) จ.ลำพูน (อ.บ้านโฮ่ง และแม่ทา) จ.ลำปาง (อ.เมืองปาน แจ้ห่ม เมืองลำปาง แม่เมาะ วังเหนือ งาว และสบปราบ) จ.ตาก (อ.สามเงา และท่าสองยาง) จ.พิจิตร (อ.โพธิ์ประทับช้าง และบึงนาราง) จ.พิษณุโลก (อ.บางระกำ ชาติตระการ วัดโบสถ์ และวังทอง) และ จ.นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์)
ภาคกลาง กรุงเทพมหานครพบุรี (เขตสายไหม)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.นาแห้ว และด่านซ้าย) จ.ชัยภูมิ (อ.แก้งคร้อ หนองบัวแดง เมืองชัยภูมิ บ้านเขว้า ภูเขียว และเกษตรสมบูรณ์) จ.นครพนม (อ.นาแก) จ.มุกดาหาร (อ.เมืองมุกดาหาร และดงหลวง) และ จ.สกลนคร (อ.ภูพาน และโพนนาแก้ว)
ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี (อ.ขลุง) และ จ.ตราด (อ.เมืองตราด บ่อไร่ และเขาสมิง)
ภาคใต้ จ.พังงา (อ.ท้ายเหมือง คุระบุรี และตะกั่วทุ่ง) ซึ่ง สทนช. ได้ประสานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความรับมือสถานการณ์ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว