ย้อนรอย 20 ปี สึนามิ วันนั้นเกิดอะไรขึ้น นาทีต่อนาที

ครบรอบ 20 ปีสึนามิ 26 ธันวาคม 2547 เช้าของวันอันเงียบสงบหลังผ่านค่ำคืนฉลองคริสต์มาสมาอย่างมีความสุข จู่ๆ ก็เกิดแผ่นดินไหวครั้งมโหฬาร รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ในเอเชีย รุนแรงที่สุดในศตวรรษที่ 21 และอย่างน้อยเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 3 เท่าที่เคยบันทึกไว้ทั่วโลกนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกแผ่นดินไหวด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ในปี 2443

วันนี้ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยเกอร์ จะพาไปย้อนรอยโศกนาฏกรรมช็อกโลก มหันตภัยที่ไม่มีใครคาดคิ ว่าวันที่ 26 ธันวาคม เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง

ชาวบ้านเดินพร้อมกับข้าวของของ ผ่านเรือสองลำที่ถูกคลื่นยักษ์ซัดขึ้นมาเกยตื้นที่ชายหาดนากาปัตตินัม ในรัฐทมิฬนาฑู ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP/Gautam Singh)

ชาวบ้านเดินพร้อมกับข้าวของของ ผ่านเรือสองลำที่ถูกคลื่นยักษ์ซัดขึ้นมาเกยตื้นที่ชายหาดนากาปัตตินัม ในรัฐทมิฬนาฑู ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP/Gautam Singh)

เวลา 07:58 น.

แผ่นดินไหวขนาด 9.1-9.3 แมกนิจูดเกิดขึ้นที่บริเวณร่องลึกซุนดา (Sunda Trench) ซึ่งเป็นเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใกล้เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้พื้นมหาสมุทรประมาณ 30 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งเกาะสุมาตราประมาณ 250 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้เป็นแบบ “เมกะทรัสต์” (Megathrust) ซึ่งเกิดจากแผ่นเปลือกโลกอินเดียมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเชียอย่างฉับพลัน แรงสะสมที่ถูกปลดปล่อยออกมาในครั้งนี้มีพลังมหาศาลเทียบเท่าระเบิดปรมาณูหลายพันลูก

แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวสามารถรับรู้ได้ในหลายพื้นที่ รวมถึงบางจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น ภูเก็ต กระบี่ และสตูล ในขณะเดียวกัน การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกส่งผลให้เกิดการยกตัวของน้ำทะเลเป็นวงกว้าง ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่า 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กระแสน้ำลูกแรกมุ่งหน้าทำลายล้างชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราในเวลาเพียงไม่กี่นาที

บริเวณจังหวัดอาเจะห์ (Aceh) ของอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่สุด เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เพียง 20 นาทีหลังแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ที่มีความสูงกว่า 30 เมตรกวาดทำลายหมู่บ้าน เมือง และชุมชนชายฝั่งอย่างสิ้นเชิง มีผู้เสียชีวิตในอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียวมากกว่า 170,000 คน

ผู้รอดชีวิตกำลังกู้รถเข็นจากซากปรักหักพังของย่านธุรกิจที่พังพินาศในบันดาอาเจะห์ เมืองหลวงของอาเจะห์ วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Bullit Marquez)

ผู้รอดชีวิตกำลังกู้รถเข็นจากซากปรักหักพังของย่านธุรกิจที่พังพินาศในบันดาอาเจะห์ เมืองหลวงของอาเจะห์ วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Bullit Marquez)

ประมาณ 08:30 น.

กระแสน้ำทะเลเริ่มลดระดับลงอย่างผิดปกติในจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน เช่น ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล ผู้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่านี่เป็นสัญญาณเตือนภัยธรรมชาติที่กำลังมาเยือนอย่างรุนแรง ต่างตื่นเต้นลงไปเก็บปลาที่เกยตื่นกะทันหัน นี่เองทำให้หลายคนหนีคลื่นยักษ์ไม่ทัน โดนซัดเสียชีวิต

ที่น่าเศร้าคือในตอนนั้นมหาสมุทรอินเดีย ยังไม่มีระบบเตือนภัยสึนามิ กว่าคนไทยจะรู้ คลื่นน้ำก็มาถึงแล้ว วันนั้น เป็นครั้งแรกที่คนไทยรู้จักและได้ยินชื่อของคลื่นยักษ์จากแผ่นดินไหวที่เรียกว่า “สึนามิ”

ถนนสายหนึ่งเต็มไปด้วยยานพาหนะที่เสียหายและเศษซากปรักหักพัง หลังจากพื้นที่ถูกคลื่นยักษ์ซัดกระหน่ำที่หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Karim Khamzin)

ถนนสายหนึ่งเต็มไปด้วยยานพาหนะที่เสียหายและเศษซากปรักหักพัง หลังจากพื้นที่ถูกคลื่นยักษ์ซัดกระหน่ำที่หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Karim Khamzin)

เวลาประมาณ 09:00 น. – 09:30 น.

คลื่นสึนามิลูกแรกซัดเข้าสู่ชายฝั่งจังหวัดพังงากับภูเก็ตอย่างรุนแรง ความสูงของคลื่นในบางพื้นที่มากถึง 10 เมตร โดยในจังหวัดพังงา พื้นที่เขาหลักได้รับผลกระทบหนักที่สุด คลื่นกวาดผ่านโรงแรม บ้านเรือนหลายแห่งจนราบเป็นหน้ากลอง ขณะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ บริเวณชายฝั่งถูกน้ำทะเลพัดหายไปเกือบทั้งหมด

จังหวัดภูเก็ต ชายหาดป่าตอง แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ถูกคลื่นซัดเข้าอย่างรุนแรง ผู้คนที่กำลังพักผ่อนอยู่บนชายหาดและบริเวณใกล้เคียงต้องวิ่งหนีขึ้นที่สูงอย่างโกลาหล นอกจากนี้ ชายหาดกะตะและกมลายังเผชิญความเสียหายจากกระแสน้ำที่รุนแรงเช่นกัน ต้นไม้ใหญ่ถูกถอนราก บ้านเรือนพังเสียหาย และถนนบางสายกลายเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยเศษซาก

ในจังหวัดกระบี่ ชายฝั่งอ่าวนางและเกาะพีพีเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ คลื่นสูงพัดถล่มรีสอร์ตและบ้านพักริมชายหาด ทำให้นักท่องเที่ยวและชาวบ้านต้องอพยพหนีเอาชีวิตรอดอย่างเร่งด่วน เกาะพีพีโดยเฉพาะบริเวณอ่าวต้นไทร ถูกคลื่นยักษ์ทำลายจนเสียหายอย่างหนัก

เวลา 10.03 น.

คลื่นลูกที่ 3 ความสูงกว่า 10 เมตร ซัดถล่มชายฝั่งของไทย ตามด้วยคลื่นลูกที่ 4 สูง 5 เมตร เข้ากระทบชายฝั่งและทำให้เกิดน้ำท่วมอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง

เวลา 12:00 น.

น้ำทะเลลดกลับสู่ระดับปกติ

พ่อของผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์สึนามิ กอดร่างลูกชายไว้แน่น พร้อมกับร้องไห้กับสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ที่โรงพยาบาลในเมืองกอลล์ ประเทศศรีลังกา วันที่ 27 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Vincent Thian)

พ่อของผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์สึนามิ กอดร่างลูกชายไว้แน่น พร้อมกับร้องไห้กับสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ที่โรงพยาบาลในเมืองกอลล์ ประเทศศรีลังกา วันที่ 27 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Vincent Thian)

พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดในประเทศไทย

สึนามิถล่มไทย 6 จังหวัดภาตใต้ ได้แก่ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 คน แบ่งเป็นคนไทย 2,059 คน ชาวต่างชาติ 2,436 คน และยังไม่ระบุสัญชาติอีก 900 คน

บาดเจ็บกว่า 8,000 คน ผู้สูญหาย 2,817 คน เป็นคนไทย 1,921 คน ต่างชาติ 896 คน

เขาหลัก จังหวัดพังงา: ได้รับความเสียหายมากที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติพักอยู่เป็นจำนวนมากในช่วงวันหยุดปลายปี คืนก่อนหน้าเพิ่งฉลองวันคริสต์มาส รายงานระบุว่ามียอดผู้เสียชีวิตในพื้นที่เดียวกว่า 4,000 ราย สูญหาย 1,655 คน

ชายหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต: แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต้องเผชิญกับความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมกันหลายร้อยราย

เกาะพีพี จังหวัดกระบี่: แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติระดับโลกที่ได้รับความเสียหายร้ายแรงจากคลื่นที่พัดทำลายโครงสร้างส่วนใหญ่ของเกาะ

ในครั้งนั้นคนไทยยังสูญเสียครั้งสำคัญคุณพุ่ม เจนเซ่น พระโอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่ชายหาดโรงแรมมันดะเลย์รีสอร์ต บ้านเขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ระหว่างกำลังเล่นเจ็ตสกี สิริอายุ 21 ปี

คำบอกเล่าของผู้รอดชีวิต

หลังจากคลื่นสึนามิสงบ มีเหลือเล่ามาจากผู้รอดชีวิต ที่โชคดีมีความรู้เรื่องนี้ ทำให้หนีรอดปลอดภัยว่า ที่หาดไม้ขาว ทางตอนเหนือของภูเก็ต ทิลลี่ สมิธ เด็กหญิงชาวอังกฤษวัย 10 ขวบ ได้สังเกตเห็นความผิดปกติของทะเล ทิลลี่เพิ่งเรียนเรื่องสึนามิในวิชาภูมิศาสตร์ที่โรงเรียน เธอจดจำสัญญาณเตือนภัยได้ เช่น น้ำทะเลที่ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว และฟองอากาศที่ผุดขึ้นมาผิดปกติ ด้วยความตระหนักถึงอันตราย ทิลลี่และพ่อแม่ของเธอจึงรีบเตือนนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ บนชายหาดให้หนีขึ้นที่สูง ทำให้ทุกคนปลอดภัย

ที่อ่าวกมลา จอห์น โครสตัน ครูสอนชีววิทยาชาวสกอตแลนด์ ก็สังเกตเห็นป้ายบอกทางที่ชี้ไปยังที่สูง เขาตัดสินใจอย่างรวดเร็วว่าต้องพาผู้คนไปอยู่ในที่ปลอดภัย จอห์นได้ขึ้นรถบัสพร้อมกับนักท่องเที่ยวและชาวบ้านในท้องถิ่น เพื่ออพยพไปยังที่สูงได้ทันเวลา

Jayarasa Abilash ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “Baby 81” รอดชีวิตหลังจากที่เขาสึนามิใพัดไปนมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี 2547 กำลังดูอัลบั้มภาพถ่ายของเขาที่บ้านพักในกุรุกกัลมาดัม ประเทศศรีลังกา เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567

Jayarasa Abilash ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “Baby 81” รอดชีวิตหลังจากที่เขาสึนามิใพัดไปนมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี 2547 กำลังดูอัลบั้มภาพถ่ายของเขาที่บ้านพักในกุรุกกัลมาดัม ประเทศศรีลังกา เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567

สึนามิวันบ็อกซิ่งเดย์

คลื่นสึนามิครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักแก่ชุมชนตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 227,898 คน ใน 14 ประเทศ โดยเฉพาะในอาเจะห์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา รัฐทมิฬนาฑู ของอินเดีย รวมถึงเขาหลักประเทศไทย

ผลกระทบโดยตรงของสึนามิทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อสภาพความเป็นอยู่และการค้าในจังหวัดชายฝั่งของประเทศต่างๆ ในบริเวณนั้น ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดในศตวรรษที่ 21 และเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์

แผ่นดินไหวครั้งนี้ สร้างรอยแตกของเปลือกโลกยาวมากที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ คือยาวถึง 1,200 ถึง 1,300 กิโลเมตร และการเคลื่อนตัวของรอยแตกนี้ก็กินเวลานานที่สุด อย่างน้อย 10 นาที

พลังของมันรุนแรงจนทำให้โลกทั้งใบสั่นสะเทือนถึง 10 มิลลิเมตร ส่งผลกระทบไปถึงพื้นที่ห่างไกล เช่น อะแลสกา ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมา จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างเกาะซิเมอูลูและแผ่นดินใหญ่ของเกาะสุมาตรา

ความทุกข์ยากของผู้ประสบภัยและประเทศที่ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากทั่วโลก มีการบริจาคเงินรวมกันมากกว่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน)

ปัจจุบัน 2024 แม้ร่องรอยของความเสียหายทางวัตถุจะได้รับการซ่อมแซมจนกลับมาสมบูรณ์ดังเดิม แต่อีกหลายครอบครัวที่สูญเสียคนรักไปอย่างไม่ทันตั้งตัวในเหตุการณ์นี้ รอยแผลยังคงอยู่ไม่ลืมเลือน

เด็กหญิงใช้โทรศัพท์มือถือขณะเยี่ยมชมหาดลัมปุก หนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี 2547 บริเวณชานเมืองบันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Achmad Ibrahim)

เด็กหญิงใช้โทรศัพท์มือถือขณะเยี่ยมชมหาดลัมปุก หนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี 2547 บริเวณชานเมืองบันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Achmad Ibrahim)
บ้านร้างที่พังเสียหายจากเหตุการณ์สึนามิปี 2547 ตั้งอยู่บนชายหาดนากาปัตตินัม ประเทศอินเดีย วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Mahesh Kumar A.)

บ้านร้างที่พังเสียหายจากเหตุการณ์สึนามิปี 2547 ตั้งอยู่บนชายหาดนากาปัตตินัม ประเทศอินเดีย วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Mahesh Kumar A.)
เรือประมงจอดทอดสมออยู่ที่ท่าเรือในนากาปัตตินัม หนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากสึนามิปี 2547 ประเทศอินเดีย วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Mahesh Kumar A.)

เรือประมงจอดทอดสมออยู่ที่ท่าเรือในนากาปัตตินัม หนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากสึนามิปี 2547 ประเทศอินเดีย วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Mahesh Kumar A.)
ผู้มาเยือนชมกำแพงกระเบื้องจารึกชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 ณ อนุสรณ์สถานสึนามิ บ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ทางภาคใต้ของประเทศไทย วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Sakchai Lalit)

ผู้มาเยือนชมกำแพงกระเบื้องจารึกชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 ณ อนุสรณ์สถานสึนามิ บ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ทางภาคใต้ของประเทศไทย วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Sakchai Lalit)
หญิงไม่ทราบชื่อร้องไห้หลังจากคลื่นยักษ์ทำลายบ้านของเธอในพื้นที่ชายฝั่งของโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Eranga Jayawardena)

หญิงไม่ทราบชื่อร้องไห้หลังจากคลื่นยักษ์ทำลายบ้านของเธอในพื้นที่ชายฝั่งของโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Eranga Jayawardena)
มัสยิด Rahmatullah Lampuuk ยังคงตั้งตระหง่านอยู่หลังเหตุการณ์สึนามิปี 2547 ที่เข้าถล่มพื้นที่ใน Lhoknga ใกล้กับบันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2548 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Greg Baker, ภาพเก่า)

มัสยิด Rahmatullah Lampuuk ยังคงตั้งตระหง่านอยู่หลังเหตุการณ์สึนามิปี 2547 ที่เข้าถล่มพื้นที่ใน Lhoknga ใกล้กับบันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2548 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Greg Baker, ภาพเก่า)
ผู้รอดชีวิตค้นหาข้าวของในซากปรักหักพังของย่านธุรกิจในบันดาอาเจะห์ เมืองหลวงของจังหวัดอาเจะห์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินโดนีเซีย 31 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Bullit Marquez)

ผู้รอดชีวิตค้นหาข้าวของในซากปรักหักพังของย่านธุรกิจในบันดาอาเจะห์ เมืองหลวงของจังหวัดอาเจะห์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินโดนีเซีย 31 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Bullit Marquez)
กุศล เวชกุล สวดภาวนาให้ดวงวิญญาณของน้องสาวของเขา ในเช้าตรู่ของวันพุธที่ 29 ธันวาคม 2547 บริเวณชายหาดใกล้เขาหลัก ประเทศไทย น้องสาวของเวชกุลถูกคลื่นซัดหายไปในทะเลและเชื่อว่าเสียชีวิตแล้ว ขณะที่เธอกำลังขายของให้กับนักท่องเที่ยวบนชายหาดยอดนิยมทางเหนือของภูเก็ต (ภาพถ่ายโดย AP Photo/David Longstreath)

กุศล เวชกุล สวดภาวนาให้ดวงวิญญาณของน้องสาวของเขา ในเช้าตรู่ของวันพุธที่ 29 ธันวาคม 2547 บริเวณชายหาดใกล้เขาหลัก ประเทศไทย น้องสาวของเวชกุลถูกคลื่นซัดหายไปในทะเลและเชื่อว่าเสียชีวิตแล้ว ขณะที่เธอกำลังขายของให้กับนักท่องเที่ยวบนชายหาดยอดนิยมทางเหนือของภูเก็ต (ภาพถ่ายโดย AP Photo/David Longstreath)
หญิงชาวอาเจะห์เกาะเศษซากที่ลอยอยู่ ขณะถูกคลื่นสึนามิซัด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 ในบันดาอาเจะห์ เมืองหลวงของจังหวัดอาเจะห์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินโดนีเซีย มีชายคนหนึ่งพยายามช่วยเธอ แต่ทั้งคู่ถูกกระแสน้ำพัดไปและเสียชีวิต (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Frans Dellian)

หญิงชาวอาเจะห์เกาะเศษซากที่ลอยอยู่ ขณะถูกคลื่นสึนามิซัด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 ในบันดาอาเจะห์ เมืองหลวงของจังหวัดอาเจะห์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินโดนีเซีย มีชายคนหนึ่งพยายามช่วยเธอ แต่ทั้งคู่ถูกกระแสน้ำพัดไปและเสียชีวิต (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Frans Dellian)
ภาพมุมสูงจากเฮลิคอปเตอร์ เผยให้เห็นชาวบ้านค้นหาผู้สูญหายตามรางรถไฟของขบวนรถไฟที่ถูกคลื่นซัดตกรางที่เทลวัตตะ ห่างจากโคลัมโบไปทางใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร (63 ไมล์) ประเทศศรีลังกา วันที่ 29 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Vincent Thian, ภาพเก่า)

ภาพมุมสูงจากเฮลิคอปเตอร์ เผยให้เห็นชาวบ้านค้นหาผู้สูญหายตามรางรถไฟของขบวนรถไฟที่ถูกคลื่นซัดตกรางที่เทลวัตตะ ห่างจากโคลัมโบไปทางใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร (63 ไมล์) ประเทศศรีลังกา วันที่ 29 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Vincent Thian, ภาพเก่า)
ชาวไทยเดินอยู่ภายนอกวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รวบรวมศพมากกว่า 1,000 ศพ ใกล้กับอำเภอตะกั่วป่า ประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/David Longstreath, ภาพเก่า)

ชาวไทยเดินอยู่ภายนอกวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รวบรวมศพมากกว่า 1,000 ศพ ใกล้กับอำเภอตะกั่วป่า ประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม 2547 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/David Longstreath, ภาพเก่า)
มุสลีนา ข้าราชการวัย 43 ปี ผู้รอดชีวิตจากสึนามิ หลั่งน้ำตาขณะชมการแสดงบนเวทีที่จำลองเหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ปี 2547 ร่วมกับลูกชายของเธอ ซายยัน เฟียร์เดาส์ อัคมัล ที่บันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Achmad Ibrahim)

มุสลีนา ข้าราชการวัย 43 ปี ผู้รอดชีวิตจากสึนามิ หลั่งน้ำตาขณะชมการแสดงบนเวทีที่จำลองเหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ปี 2547 ร่วมกับลูกชายของเธอ ซายยัน เฟียร์เดาส์ อัคมัล ที่บันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2567 (ภาพถ่ายโดย AP Photo/Achmad Ibrahim)